Disney Mickey Mouse Glitter

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559


บทความเกี่ยวกับเทคนิคการเรียงลำดับภาพ

การเรียงลำดับภาพ (SEQUENCE OF SHOT)

        คือ การนำเอา SHOT ต่าง ๆ มาเรียงลำดับต่อกันเป็นเรื่องราว เพื่อให้การสื่อภาษาภาพทางโทรทัศน์ สามารถถ่ายทอดความคิด เนื้อหา เรื่องราวต่างๆได้อย่างครบถ้วน  มีลำดับ ขั้นตอนต่างๆ ที่ทำให้ผู้ชมเข้าใจ ฉะนั้นเราจึงต้องศึกษาทำความเข้าใจไวยากรณ์ของภาษาเป็นอย่างดี และต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้ 

1.  SHOT (FUNCTION OF SHOT) ซึ่งเหมือนกับการเรียนรู้ภาษาเขียน หน้าที่ของ SHOT ที่แตกต่างกัน มีดังนี้
             1.1 ESTABLISHING SHOT หมายถึง SHOT ที่ ทำหน้าที่บอกสถานที่เกิดเหตุการณ์ หรือบอกลักษณะของเหตุการณ์ว่าเป็นเหตุการณ์อะไร โดยส่วนใหญ่นิยมใช้เปิดเรื่อง หรือเปิดเหตุการณ์ ให้กับผู้ชม โดยขนาดภาพที่นิยมมักจะเป็นภาพระยะไกล (LS) แต่มักจะไม่เสมอไป
             1.2 CUT-IN SHOT หมายถึง SHOT ที่ทำหน้าที่ขยายความ หรือขยายรายละเอียดของวัตถุ บุคคล หรือเหตุการณ์ สถานที่ ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้องใช่เป็น SHOT ที่ตามหลังภาพเหตุการณ์รวม ๆ 
             1.3 CUT AWAY SHOT หมายถึง SHOT ทำหน้าที่เสริมบรรยากาศ หรืออารมณ์ ความรู้สึกให้กับภาพเหตุการณ์ที่เสนอไปแล้ว หรือเบนความสนใจ จาก SHOT ก่อนหน้า เพื่อเปลี่ยนฉาก หรือเหตุการณ์ต่างๆ 
             1.4 ACTION SHOT หมายถึง SHOT ที่แสดงเหตุการณ์การกระทำของตัวละครต่อตัวละครอีกตัวหนึ่ง
             1.5 REACTION SHOT หมายถึง SHOT ที่แสดงปฏิกิริยาตอบสนองตัวละค รที่ถูกกระทำจากตัวละครตัวแรกว่ามีอาการแสดงออกมาอย่างไร
             1.6 REVERSE SHOT คือ SHOT ที่แสดงภาพบุคคลที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามระหว่างตัวละคร 2 ตัว หรือ 2 ฝ่าย ที่กำลังเผชิญหน้ากัน อาจจะคุยกัน หรือทะเลาะกันก็แล้วแต่ โดยส่วนใหญ่มักจะใช้ลักษณะภาพ OVERSHOULDER SHOT

2. รู้จักการวางตำแหน่งของ SHOT หรือการลำดับ SHOT ว่า SHOT ใด ควรจะมาก่อน หรือ SHOT ใดควรจะอยู่ตรงไหน ซึ่งก็แล้วแต่เหตุการณ์ หรือความหมายที่ต้องการจะสื่อ เราสามารถลำดับภาพ หรือ SHOT ได้หลายวิธี ดังนี้
               2.1 NARRATIVE CUTTING คือเมื่อเราต้องการนำเสนอเหตุการณ์ที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตามลำดับเวลา เราก็จะจัดวาง SHOT ตามลำดับเวลา คือ SHOT ใดนำเสนอภาพเหตุการณ์ เกิดขึ้นก่อน ก็จะนำเสนอก่อน แล้วนำเสนอต่อ ๆ ไปตามลำดับเวลาไปเรื่อย ๆ 
               2.2 CROSS CUTTING คือเมื่อเราต้องการนำเสนอเหตุการณ์ตั้งแต่ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เห็นเหตุการณ์เดียวกัน เราต้องจัดวาง SHOT หรือลำดับ SHOT แบบสลับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นไปมาระหว่าง 2 เหตุการณ์
               2.3 PARALLEL CUTTING เป็นวิธีการลำดับ SHOT หรือจัดวาง SHOT ที่ใช้เมื่อเราต้องการนำเสนอเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ ที่อาจจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน หรือต่างเวลากัน สลับกันไปมา เพื่อเปรียบเทียบ แต่มิได้มีความหมายเกี่ยวข้องกันโดยตรง และเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์นี้จะไม่บรรจบกันเลย
               2.4 DYNAMIC CUTTING เป็นวิธีการลำดับ SHOT เพื่อแสดงความต่อเนื่องของเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อกัน ในด้านเหตุการณ์ หรืออารมณ์อย่างรุนแรง
               2.5 MONTAGE CUTTING เป็นวิธีการลำดับ SHOT หรือจัดวาง SHOT เข้า ด้วยกัน โดยมีแนวความคิดรวมที่ต้องการจะถ่ายทอดเป็นแกนซึ่งภาพต่าง ๆ ที่นำมาต่อเนื่องกันไม่ได้มีความต่อเนื่อง หรือเกี่ยวข้องกันโดยตรงเลย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเวลาหรือเหตุการณ์ วัตถุประสงค์เพื่อเล่าเหตุการณ์ หรือสรุปเรื่องราว โดยใช้เวลาเพียงสั้น ๆ

3. รู้จักกำหนดช่วงเวลาความยาวของแต่ละ SHOT (DURATION)

4. การกำหนดเวลาของการเชื่อมโยงระหว่าง SHOT ( TIMING ) แบ่งได้ 3 ประเภท

              4.1 การเชื่อมโยงระหว่าง SHOT โดยรอให้เหตุการณ์ หรือการกระทำ หรือการเคลื่อนไหวจบสิ้นไป แล้วจึงเปลี่ยน SHOT ต่อไป การเชื่อมโยงจังหวะนี้จะทำให้ความรู้สึกเชื่องช้า
              4.2 เชื่อมโยงกันโดยเหตุการณ์เคลื่อนไหวใน SHOT แรกยังไม่ปรากฏแล้วต่อโดย SHOT 2 จึงมีการเคลื่อนไหว ซึ่งแบบนี้ทำให้อารมณ์รุนแรง รวดเร็ว ฉับพลัน น่าตื่นเต้น
              4.3 เป็นการเชื่อมโยง SHOT ระหว่างเหตุการณ์ หรือการกระทำที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่อย่างนี้เรียกว่า CUT ON ACTION ใช้แสดงการเชื่อมโยง 2 SHOT ที่มีความกลมกลืนต่อเนื่อง อย่างลื่นไหลไปเรื่อย ๆ

5. วิธีการเชื่อมโยงระหว่าง SHOT (TRANSITION) ซึ่งมีวิธีการได้หลายวิธี แต่ละวิธีให้ผลทางการสื่อความหมาย อารมณ์ แตกต่างกันไป

6. CUT หรือ STRAIGHT CUT คือการเชื่อมโยงระหว่าง SHOT แบบตัดไปตรง ๆ เหมือนเอาภาพของ 2 SHOT มาต่อกันเฉย ๆ ซึ่งดูเหมือนว่า จะสะดุดอารมณ์คนดู แต่จริง ๆ แล้ว หากเลือก CUT ภาพ ในจังหวะที่เหมาะสมกับความต้องการทางความหมาย และอารมณ์ที่ต้องการจะสื่อให้ผลดีมาก เพราะที่จริงแล้วคนเราเวลารับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ มิใช่จะเปิดรับเหตุการณ์แบบยาวต่อเนื่องกันตลอด แต่จะเป็นการเลือกมองเฉพาะส่วนที่ต้องการจะรับรู้เท่านั้น ส่วนที่ไม่น่าสนใจ หรือไม่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ จะถูกตัดออกไป ทำให้วิธีการเชื่อมโยงระหว่าง SHOT แบบ CUT ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นธรรมชาติมากที่สุด และโดยทั่วไปแล้ว ในภาพยนตร์ และโทรทัศน์ เราจะพบได้บ่อยที่สุดกว่าการใช้วิธีอื่น ๆ 

7. FADE มี 2 อย่าง คือ FADE IN หมายถึงการเริ่มต้นภาพจากเฟรมที่มืดสินท หรือพื้นสี (Color Background) แล้ว ค่อย ๆ ปรากฏภาพให้เห็นชัดเจนขึ้นจนเป็นหกติ ส่วนใหญ่จะนำมาใช้บอกการเริ่มต้นของเรื่อง ของเหตุการณ์ หรือของวันใหม่ เป็นต้น ส่วน FADE OUT หมายถึง การนำภาพที่กำลังมองเห็นอยู่ชัดเจนให้ค่อย ๆ จางหายสู่ความมืด หรือพื้นสี ในที่สุด ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบอกการจบสิ้นเรื่องของเหตุการณ์ หรือสิ้นสุดลง เป็นต้น การใช้ FADE นี้ จะให้อารมณ์แบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างนุ่มนวลกว่า CUT จึงควรใช้ให้เหมาะสมกับเรื่องราว และเหตุการณ์ บางครั้ง FADE IN - FADE OUT ถูก ใช้เพื่อการเปลี่ยนฉาก เหตุการณ์ หรืออารมณ์ อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เรื่องราวดำเนินไปได้ โดยที่คนดูจะไม่รู้สึกว่ามีการสะดุด หรือที่เรียกว่า ภาพกระโดด (Jumping cut)

8. DISSOLVE คือ การที่ภาพใน SHOT หนึ่งที่กำลังจางหายไป ก็มีภาพในอีก SHOT มาซ้อนแล้วค่อย ๆ ชัดขึ้น และมาแทนที่ในที่สุด การใช้ DISSOLVE นี้ใช้เพื่อเชื่อมโยงเหตุการณ์ระหว่าง SHOT แล้วมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างกลมกลืน หรือเอาใช้เพื่อลัดเวลา ซึ่งผลทางอารมณ์ที่จะได้แบบนุ่มนวล ชวนฝัน

9.WIPE คือ การกวาดภาพ นำเอาภาพใหม่แทนที่ภาพเก่า เหมือนกับการเปิดปิดม่านเวทีละคร นำมาใช้เพื่อเล่าเรื่องราวแบบตรงไปตรงมา ไม่ต้องการความสมจริง สอดคล้องกับธรรมชาติการรับรู้ของมนุษย์เรา
      
WIPE สามารถทำได้หลายอย่าง แต่แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 อย่าง คือ

1. การกวาดภาพทางแนวนอน จากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย
2. การกวาดภาพทางแนวตั้ง จากบนลงล่าง และจากล่างขึ้นบน
3. การกวาดภาพทางแนวเฉลียง จากมุมซ้าย หรือจากมุมขวา
4. การกวาดภาพในรูปทรงเรขาคณิต เช่น วงกลม สามเหลี่ยม

           การกวาดภาพต้องคำนึงถึงการเคลื่อนไหวของวัตถุ และบุคคลภายในกรอบภาพให้เหมาะสมสอดคล้องกับเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ทิศทาง หรืออัตราเร็ว

           นอกจากนี้ยังมีวิธีการเชื่อมโยงที่ใช้ผลพิเศษทางการอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วนส่วนใหญ่จะใช้เครื่อง DIGITAL VIDEO EFFECTS หรือเครื่อง COMPUTER เข้ามาช่วย



ที่มา : http://luck-graphic-design.blogspot.com/2011/07/sequence-of-shot.html

บทความเกี่ยวกับประเภทของการให้แสง

ประเภทของการให้แสง มีดังนี้ 

1. Back lighting คือ การให้แสงด้านหลัง โดยใช้ไฟดวงไฟที่มีแสงขับสองลำแสงพุ่งจากด้านหลังวัตถุ ระหว่างฉากหลังกับวัตถุ ให้ลำแสงส่องกระทบด้านหลังสิ่งที่ถ่ายปรากฏ เด่นเห็นได้ชัดเจน มองเห็นเด่นตัดกันกับฉากหลัง

2. Flat lighting คือ การให้แสงที่เท่าเทียมกัน เข้าในบริเวณฉากโดยทั่วไป ส่องจากด้านหน้าเข้าหาฉากหรือวัตถุ ทำให้มองเห็นสิ่งที่ได้รับแสงนั้น มีลักษณะแบน ไม่เด่นชัดเท่าที่ควร ปราศจากความกลมโค้งหรือลึก

3. Foundation lighting คือ การให้แสงเป็นพื้น เพียงให้มีความสว่างเพียงพอที่กล้องโทรทัศน์จะถ่ายภาพให้มองเห็นได้ หรือการให้แสงสาดทั่วไปทั้งฉากโดยเท่าเทียมกัน ไม่ปรากฏสิ่งที่ชัดเจนมากนัก 

4. Front lighting คือ การให้แสงจากด้านหน้า ไปยังฉากหรือส่วนของฉาก โดยการให้แสงลักษณะพร่า (Diffused) และมีความสว่างต่ำ ตั้งดวงไฟไว้เหนือกล้องหรือข้างๆกล้อง

5. Hard lighting คือ การให้แสงเข้ม ตัดกันจากดวงไฟฉายที่ให้ความสว่างสูงสุด ส่องตรงไปยังวัตถุในฉากแสงที่กระทบจะมีลักษณะสว่างมาก แสงการตัดกันของเงาเข้มหรือเงาดำ ซึ่งมีเส้นขอบคมมากทางด้านหลังของวัตถุ ตามทิศทางของลำแสงแต่ละลำ ภาพที่ถ่ายด้วยลำแสงเช่นนี้จะมีสีตัดกันสูงมาก(High contrast)

6. High key light คือ การให้แสงแบบไฮคีย์ (High key) โดย การให้แสงไปที่ฉากและวัตถุ ซึ่งจัดให้มีสีอ่อนจางหรือสีขาวเป็นส่วนใหญ่ หรือทั้งหมดด้วยแสงสว่าง และทิศทางของลำแสงที่ไม่ก่อให้เกิดเงาดำในบริเวณฉากเลย ภาพที่ปรากฏทั้งหมดจะเป็นสีจางอ่อนมาก หรือขาวลดหลั่นกันไปเกือบทั่วบริเวณภาพ

7. Low key light คือ การให้แสงแบบโลว์คีย์ (Low key) โดย ให้แสงไปยังวัตถุและฉาก ที่จัดให้เป้นสีดำเป็นส่วนใหญ่ หรือทั้งหมดด้วยแสงสว่างและทิศทางของลำแสง ที่ไม่ก่อให้เกิดความกระจ่างจ้าเป็นขาว (High light) ให้ ในบริเวณฉากได้เลย ภาพที่ปรากฏในแากทั้งหมดจะเป็นสีดำอ่อนและแก่ตามความลดหลั่นของสีขาวบริเวณ ภาพ ในลักษณะตรงกันข้ามกับการให้แสงแบบไฮคีย์ (High key)

8. Soft lighting คือการให้แสงอ่อนๆ โดยใช้สิ่งให้แสง (Light source) หรือดวงไฟฉายที่มีลำแสงพร่ากระจาย (Diffused light) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดเงาดำขึ้นภายในฉากเลย


ที่มา : http://luck-graphic-design.blogspot.com/2011/07/blog-post_4156.html

บทความเกี่ยวกับเทคนิคการเชื่อมต่อภาพวีดิโอ 

       โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมเหตุการณ์สถานที่ เวลา ในรายการโทรทัศน์ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่า เรื่องราวที่นำเสนอนั้นเป็นเรื่องราวเดียวกัน โดยไม่ขัดแย้งหรือภไม่นกระโดด ไม่ต่อเนื่อง (jump cut) มักจะใช้ transition เป็นเครื่องมือเชื่อมภาพอันได้แก่

          1. FADE คือ การเลื่อภาพเข้ามาในจอจากพื้นสี (fade in) หรือการเลื่อนภาพออกไปจากจอสู่พื้นสี (fade out) โดยที่ fade in ใช้สำหรับการเริ่มเรื่อง หรือเริ่มฉากใหม่ ซึ่งตรงกันข้ามกับ fade out ที่ใช้สำหรับการจบเรื่อง หรือการจบตอนเพื่อเริ่มตอนหรือฉากใหม่

          2. CUT คือ ลักษณะการตัดตรง โดยเปลี่ยนจากภาพหนึ่งไปยังอีกภาพหนึ่งอย่างรวดเร็ว เพื่อจะเปลี่ยนภาพเหตุการณ์ เวลา หรือสถานที่ ไปสู่อีกภาพหนึ่งตามความต้องการ

          3. DISSOLVE คือ การจางซ้อนโดยที่ค่อยๆเลือนภาพแรกลงในขณะที่ภาพที่สองก็ถูกเลือนเข้ามาแทน เหมาะสำหรับ การเปลี่ยนภาพที่ต้องการให้ความรู้สึกว่าถูกเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ นุ่มนวล หรือบางทีก็ใช้กับกรณีที่แก้ไขข้อบกพร่องของการต่อเหตุการณ์ เพื่อป้องกันการกระโดด อาทิเช่น ภาพที่มีลักษณะของคนละเวล าหรือสถานที่กัน

          4. WIPE คือการกวาดภาพ เป็นเทคนิคพิเศษ ที่ใช้เพื่อการเปลี่ยนภาพเหตุการณ์ ที่เป็นภาพคนละเวลา หรือคนละสถานที่กัน โดยการกวาดในรูปแบบต่างๆ เช่นกวาดแนวตั้ง กวาดแนวนอน กวาดแนวเฉียง หรือกวาดเป็นรูปภาพ (matte key) ต่างๆ เหมาะสำหรับการเปลี่ยนที่มีการกระโดดของภาพ หรือสำหรับการจงใจโชว์ special effects เพื่อความน่าสนใจ

          5. SUPERIMPOSE คือ การซ้อนภาพกับภาพ หรือการซ้อนภาพกับตัวหนังสือหรือกราฟิคต่างๆ โดยภาพทั้งสองปรากฏนจอในขณะเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อความน่าสนใจในการติดตามชม

รูปแบบในการวางตำแหน่งลำดับช็อตคือการเรียงลำดับเหตุการณ์ด้วยวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. narrative cutting
2. cross cutting
3. montage cutting
4. dynamic cutting
5. parallel cutting
6. flashback cutting   คือ การย้อนภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแล้วย้อนกลับไปเล่าเรื่องในอดีต หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น
7. flash forward cutting  คือ  การเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอนาคต หรือความคิดฝันจากเรื่องหรือเหตุการณ์ที่กำลังเสนอโดยการใช้ transition เป็นเครื่องมือเปลี่ยนเวลา


ที่มา : http://luck-graphic-design.blogspot.com/2011/07/transition.html

บทความเกี่ยวกับองค์ประกอบในการจัดฉาก

            การจัดวางองค์ประกอบ (Composition)  หมายถึง  การจัดวางตำแหน่งขององค์ประกอบฉาก ต้องยึดหลักของความสมดุลและมีเอกภาพ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ มุมและตำแหน่งของกล้อง ดังนั้นผู้ออกแบบฉากจำเป็นต้องทราบถึงแผนการถ่ายทำของรายการและการวาง มีความรู้ด้านการจัดองค์ประกอบ ด้วยเช่นกัน ตำแหน่งกล้องทั้งหมดเพื่อที่จะได้วางแผนจัดองค์ประกอบของฉากให้สามารถใช้งาน ได้ดีเหมือนกันหมดทุกมุม

           เส้น  Line หมายถึง รูปร่างโดยส่วนรวมของฉาก รวมไปถึงมิติและการมองเห็นได้ด้วยตา(Perspective)

           ดังนั้นรูปร่างของฉากควรสร้างความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(Unity) อีก ทั้งยังช่วยสร้างบรรยากาศหรืออารมณ์ของรายการได้ ซึ่งฉากที่มีการจัดเหมือนจริง ก็จะใช้เส้นหรือฉากที่มีรูปร่างธรรมดา มีมุมมองธรรมดาเพื่อให้เกิดความสมจริง เช่น ห้องก็จะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ของที่อยู่ใกล้มักจะใหญ่กว่าของที่อยู่ไกลเป็นต้น

เส้นสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ

         1. เส้นแนวนอน ( Vertical Line ) หมายถึง เส้นที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงตามแนวนอน จะให้เกิดความรู้สึกถึงความกว้าง และเรียบ
         2. เส้นแนวตั้ง ( Horizontal Line ) หมายถึง เส้นที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงแนวดิ่งหรือแนวตั้ง จะให้เกิดความรู้สึกถึงความสูงแลความลึก
         3. เส้นแนวเฉียง ( Perspective Line )  หมายถึง เส้นที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงทำมุมเป็นมุมเฉียง จะให้เกิดความรู้สึกถึงการเคลื่อนที่ การย้ำเน้น และความลึก
         4. เส้นที่ไม่ใช่เส้นตรง  ( Cycle Line )  หมายถึง เส้นที่มีลักษณะโค้ง ไม่เป็นเส้นตรง จะให้เกิดความรู้สึกถึงความอ่อนไหว ความสับสน ความโลเล ความงุนงง และการเคลื่อนไหว

         พื้นผิวTexture หมายถึง การสร้างลักษณะทางกายภาพของพื้นผิว เช่น ผิวเรียบ ผิวขรุขระ ผิวมันวาว เป็นต้น สามารถแบ่งได้ 2 วิธีคือ 
               1. การสร้างพื้นผิวที่มีมิติขึ้นมาจริง 
               2. การระบายสีหรือการวาดเพื่อให้ดูเหมือนพื้นผิวแบบต่างๆ

          สี (Color) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในการออกแบบ เพราะสีจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความลึก มีมิติ สร้างความ สมจริง ให้อารมณ์ และสร้างจุดเด่นให้กับฉาก ดังนั้นควรเลือกใช้สีในฉากต่างๆควรมีการกำหนดและใช้อย่างถูกต้องเพื่อ ประสิทธิภาพของงาน

ข้อควรระวังในการใช้สีเพื่อการออกแบบ

              1.ไม่ควรใช้สีขาวจัด หรือดำสนิท เพราะกล้องไม่สามารถทำงานกับความสว่างที่สูงมากๆหรือต่ำมากๆได้
              2.ไม่ ควรใช้สีอ่อนเกินไป เช่น ฟ้าอ่อน เหลืองอ่อน ชมพูอ่อน หรือการใช้สีที่เข้มเกินไปเช่น แดงเข้ม น้ำเงินเข้ม หรือน้ำตาลเข้ม เพราะสีที่อ่อนเกินไปเมื่อโดนแสงจะถูกดูดกลืนไปกับสีขาว ส่วนสีที่เข้มมากๆจะถูกดูดกลืนจากสีดำ
              3.ไม่ควรใช้สีสะท้อน เพราะทำให้การวัดแสงของกล้องวัดแสงอัตโนมัติไปที่สีสะท้อนตรงนั้น
              4.ควร ระวังเรื่องแสงสะท้อน เช่นถ้าโต๊ะเป็นสีเขียวหรือสีขาว เมื่อโดนแสงอาจสะท้อนโดนหน้านักแสดง หรือวัตถุอื่นๆในฉากให้เกิดการเปลี่ยนสีได้ ดังนั้นจึงต้องระวังเรื่องแสงสะท้อน ทางที่ดีควรใช้สีเป็นสีขาวหม่นหรือสีเทา

การตัดต่อ (Editing)

Electronic
- Control track Editing
- Automatic Time code Editing
- Computerize Time code Editing

หลักพื้นฐาน
- Continuity
- Complexity
- Ethic

Voice
- Voice over ( voice overlap )
- Voice off scene

Sequence - การลำดับ Sequence ตามความเหมาะสมของขนาดภาพ
- สูตร Picture Sequence
- Direction & Meaning

Position of shot
- Dynamic Cutting
- Narrative Cutting
- Montage Cutting
- Cross Cutting

- Parallel Cutting



ที่มา : http://luck-graphic-design.blogspot.com/2011/07/blog-post_7454.html

บทความเกี่ยวกับเทคนิคการตัดต่อเพลง




1. คลิก Start >> Programs >> Nero>> Nero Wave Editor




2. ปรากฏหน้าต่างโปรแกรม Nero Wave Editor คลิกเลือกเมนู File >> Open




3. จะปรากฏหน้าต่างของ Open ให้เลือกโฟลเดอร์ที่เก็บเพลงและไฟล์เพลงที่ต้องการ จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Open โปรแกรมจะทำการโหลดเพลงที่ต้องการแสดงเป็นกราฟในหน้าต่างของโปรแกรม  เป็้นหน้าต่างไฟล์งานที่ 1 

4. และเปิดไฟล์เพลงที่จะเอามาต่ออีกหน้าต่างหนึ่งไว้  เป็นอีกไฟล์เพลงหนึ่ง จะได้เป็น 2 หน้าต่าง ดังรูปที่ 2  

5. เลือกหน้าต่างไฟล์เพลงที่ต้องการจะนำมาต่อ คือหน้าต่างไฟล์เพลงที่ 2  ในข้อ 4  คลิกเมนู Edit >> Select All หรือกดแป้น Ctrl+A  หรือหากต้องการเลือกช่วงใด ช่วงหนึ่งของเพลง ก็เลือกคลุมดำไว้




6. คลิกเมนู Edit >> Copy

7. จากนั้นย้อนกลับมาดูที่เมนูในหน้าต่างของไฟล์เพลงที่จะเป็นไฟล์เสียงเริ่มต้นคือหน้าต่างที่ 1   ไปที่เมนู Edit เลือกคลิก Paste เพื่อวางไฟล์เพลงที่เรา Copy มาต่อกัน

8. หากต้องการนำไฟล์เพลงที่ 3 มาต่อ ก็ทำการเปิดหน้าไฟล์งานเพิ่มขึ้นอีก ตามขั้นตอนที่ 4-7 อีกครั้ง จนกว่าจะได้ไฟล์เสียงเพลงครบถ้วนตามต้องการ

ดูที่แถบด้านล่างของหน้าต่างโปรแกรมในช่องของ Viewed: จะแสดงเวลาว่าเพลงที่เราเพิ่มเข้าไปทั้งหมด ใช้เวลาในการเล่นเท่าใด

9.อย่าลืมบันทึกไฟล์งานที่ได้ที่เมนู save


ที่มา : http://my.nero.com/index.php?__path=Blog%3A%2F%2FDisplayBlogComposite%2Fmrchuck999%2F7200608#0


วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559


บทความเทคนิคการทำ Teaser

วิธีการใช้ Movie Maker ในการทำ Teaser




1.คลิกที่ปุ่ม "เพิ่มวิดีโอ และรูปถ่าย" จากนั้นวิดีโอและรูปถ่ายที่เราต้องการ ในจำนวนไม่จำกัด




2.เลือกเพลง และวิธีการต่างๆ
    2.1 คลิกเพื่อเลือกเพลงสำหรับวิดีโอนี้
    2.2 คลิกเพื่อเพิ่มชื่อเรื่อง หรือหน้าว่างสำหรับใส่คำ หรือใส่สีให้สวยงาม
    2.3 คลิกเพื่อเพิ่ม คำอธิบายใต้รูปภาพ





3.เพิ่มฟังก์ชั่นสำหรับวิดีโอนี้
   3.1 เลือกช่วงการเปลี่ยนภาพในรูปแบบต่างๆ
   3.2 คลิกที่ปุ่ม "นำไปใช้ทั้งหมด" หมายถึง การที่เราเลือกฟัก์ชั่นการเปลี่ยนภาพนี้ทุกอัน (สำหรับกรณีที่มีหลายวิดีโอหรือหลายภาพ)
   3.3 คลิกเพื่อให้เวลาในการสไลด์



4.คลิกเพื่อกำหนดการเคลื่อนไหวของรูปภาพ เมื่อสไลด์มาถึง เช่น เลือ่นขึ้นบนเรื่อย ลงล่างเรื่อยๆ เป็นต้น





5.เลือกสีของวิดีโอ หรือรูปภาพตามที่เราต้องการ




6. เลือกเอฟเฟ็คขอวิดีโอ

   6.1 กดเมื่อต้องการปรับแต่งเสียง






7. แก้ไขวิดีโอ
   7.1 คลิกเพื่อกำหนดว่า ให้เสียงเบา หรือเพิ่มขึ้น
   7.2 คลิกเพื่อกำหนดความเร็วของวิดีโอ
   7.3 คลิกเมื่อต้องการ ตัด แต่งวิดีโอ (อื่นๆ)

8. บันทึก

   คลิกที่คำว่า File และเลือก บันทึกโครงการ แต่จะเป็นไฟล์ของ Movie Maker หากต้องการบันทึกเป็น Mp4 ให้กดที่ บันทุกภาพยนตร์ และคลิกคำว่าท "เหมาะสำหรับโครงการนี้"



ที่มา : http://supunsa-k.blogspot.com/2014/09/movie-maker-teaser.html


บทความเกี่ยวกับหลักการออกแบบ

หลักการออกแบบ




 1. Step Panelกลุ่มของปุ่มที่ใช้สลับไปมาในขั้นตอนต่างๆ ของการตัดต่อวีดีโอ เช่น ต้องการจับภาพจากกล้องวีดีโอก็คลิกปุ่ม Capture หากต้องการแก้ไข/ตัดต่อวีดีโอ คลิกปุ่ม Edit ต้องการใส่ข้อความในวีดีโอ คลิกปุ่ม Titleเป็นต้น

2. Menu Barแถบเมนูของชุดคำสั่งต่างๆ เช่น สร้างโครงการใหม่ เปิดโครงการ บันทึกโครงการ เป็นต้น

3. Options Panelส่วนนี้จะมี ปุ่มและข้อมูลอื่นๆ ที่ให้คุณได้ปรับแต่งคลิปที่คุณเลือกไว้ ฟังชั่นก์ต่างๆ ในส่วนนี้จะเปลี่ยนไปตามขั้นตอนที่คุณกำลังทำงานอยู่ เช่น คุณเลือกคลิปวีดีโอ ก็จะมีฟังก์ชั่นต่างๆ สำหรับจัดการกับคลิปวีดีโอหรือคุณเลือกเสียง ก็จะมีฟังก์ชั่นสำหรับการจัดการเรื่องเสียง เป็นต้น

 4. Preview Windowหน้าต่างแสดงคลิปปัจจุบัน, ตัวกรองวีดีโอ, เอฟเฟ็กต์, หรือตัวหนังสือ ต้องการดูผลลัพธ์ของการตัดต่อต่างๆ สามารถดูได้ในหน้าต่างนี้

5. Navigation Panelมีปุ่มสำหรับเล่นคลิปวีดีโอและสำหรับตัดวีดีโอ ในขั้นตอนการจับภาพ, ส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ควบคุมกล้องวีดีโอ เช่น เล่นวีดีโอ หยุด หยุดชั่วขณะ กรอไปข้างหน้า กรอกลับ เป็นต้น

6. Libraryเก็บและรวบรวมทุกอย่างไว้ ไม่ว่าจะเป็น วีดีโอ, เสียง, ภาพนิ่ง, เอฟเฟ็กต์ต่างๆ เป็นต้น ทำให้สะดวกในการเรียกใช้งาน

7. Timelineแสดงคลิป, ตัวหนังสือและเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่อยู่ในโครงการ

 Step Panel

ส่วนนี้เป็นส่วนของขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ ขั้นตอนเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอน หรือข้ามขั้นตอนใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตัดต่อวีดีโอของคุณเอง

ขั้นตอนตัดต่อคือ

1. Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูลวีดีโอจากแผ่น CD/DVD)

2. Edit (แก้ไข/ตัดต่อ)

3. Effect (ใส่เอ็ฟเฟ็กต์)

4. Overlay (ทำภาพซ้อน)

5. Title (ใส่ตัวหนังสือ)

6. Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย)

7. Share (บันทึกวีดีโอที่ตัดต่อแล้ว ลงสื่อต่างๆ)

ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้ เช่น อาจจะไปใส่ดนตรีประกอบก่อน แล้วมาใส่ตัวหนังสือภายหลังก็ได้ หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้วก็อาจจะไปเลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตัดต่อวีดีโออย่างไร และต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อ

 ขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ




เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้ คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ได้ วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียงไฟล์เดียว หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ และในขั้นตอนการจับภาพนี้ นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยังสามารถที่จะบันทึกภาพจากวีดีโอเป็นภาพนิ่งได้อีกด้วย





ขั้นตอนการแก้ไขและ Timeline นี้ เป็นจุดสำคัญของการใช้ Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ ที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์กัน ก็มาเรียงลำดับเหตุการณ์ในขั้นตอนนี้ หรือแทรกคลิปวีดีโออื่นๆ เข้ามาในกระบวนการตัดต่อ เช่น หลังจากที่คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว เห็นว่าคลิปวีดีโอที่มีอยู่ในเครื่อง เหมาะสม น่าที่จะนำมาแทรกในบางช่วงของวีดีโอที่คุณกำลังตัดต่อ ก็สามารถทำได้ กรณีที่มีคลิปวีดีโอเพียงไฟล์เดียว เช่น จับภาพวีดีโอมาเป็นไฟล์เดียว ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ ส่วน ก็สามารถตัดแยก scene วีดีโอได้ เพื่อใส่เอ็ฟเฟ็กต์ระหว่าง scene ลบคลิปวีดีโอที่ไม่ต้องการออก ตัดคลิปวีดีโอบางส่วนที่ถ่ายเสียหรือไม่ต้องการออกและการใส่วีดีโอฟิลเตอร์ (เช่น การใส่ตัวฟิลเตอร์ฝนตกในคลิปวีดีโอ ทำให้คลิปวีดีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ ) ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน




ในขั้นตอนนี้ ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น (transition) ระหว่างคลิปวีดีโอใน project ซึ่งใน Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ ให้เลือกอย่างมากมายใน Libraryทรานสิชั่น เป็นเอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิป ทำให้วีดีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น ฉากที่ค่อยๆ จางหายไปจนมืด แล้วก็มีฉากถัดไปที่จางแล้วค่อยๆ ชัดเจนขึ้น หรือ ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนฉากนั้น จะมีภาพซ้อนกันของทั้งสองฉาก เป็นต้น นี่เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง




ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวีดีโอบนคลิปวีดีโอที่มีอยู่ เหมือนกับที่เราดูโทรทัศน์ ที่มีการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับดารา แล้วก็มีกรอบเล็กๆ เป็นภาพของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึงตนเองอยู่




ใส่ตัวหนังสือในวีดีโอ เช่น ชื่อเรื่องวีดีโอ แสดงชื่อบุคคล หรือตัวหนังสือปิดท้ายวีดีโอ ใครถ่ายทำ ถ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน เป็นต้น สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือแบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมากหลายแบบ เช่น ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่างขึ้นไปด้านบน เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดูภาพยนตร์ตอนจบ หรือจะวิ่งจากด้านขวามือมาซ้ายมือหรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็ได้




ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวีดีโอ สามารถเลือกเพลงจากแผ่น CD แล้วบันทึกมาเป็นไฟล์ทำดนตรีประกอบได้ บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ รวมทั้งการปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น ลดเสียงในวีดีโอต้นฉบับในบางช่วงขณะที่บันทึกเสียงบรรยายลงไป เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือปรับระดับเสียงของดนตรีประกอบ เป็นต้น



ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว ก็จะเป็นสร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานสามารถทำได้หลายแบบ เช่น สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทปอีกครั้ง เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD

 Menu Bar

แถบเมนูนี้ เป็นที่รวมของคำสั่งต่างๆ มากมาย

File menu





– New Project: สร้างไฟล์โครงการของ Ulead VideoStudio ใหม่ จะล้างพื้นที่ทำงานที่มีอยู่และเปิดโครงการใหม่ด้วยการตั้งค่าตามที่ระบุไว้ ในกรอบโต้ตอบ New ถ้าคุณมีโครงการที่ยังไม่ได้บันทึก เปิดไว้ในพื้นที่ทำงาน เมื่อคุณคลิก New Project Ulead VideoStudio จะมีข้อความแจ้งให้คุณบันทึกงานก่อน

– Open Project: เรียกกรอบโต้ตอบ Open เพื่อเลือกไฟล์โครงการของ Ulead VideoStudio (VSP) เพื่อแทนที่ในพื้นที่ทำงาน ถ้าคุณมีโครงการที่ยังไม่ได้บันทึก เปิดใช้งานอยู่ในพื้นที่ทำงาน จะมีข้อความปรากฏให้คุณบันทึกการเปลี่ยนแปลงก่อน

– Save/Save As: อนุญาตให้คุณบันทึกงานของคุณเป็นโครงการใหม่หรือโครงการที่มีอยู่แล้ว (*.VSP).โปรแกรมจะเปิดกรอบโต้ตอบ Save As ให้คุณกำหนดเส้นทางและชื่อไฟล์ที่จะบันทึก

– Project Properties: แสดงกรอบโต้ตอบ Project Properties ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์ที่กำลังเปิดอยู่ ตรงนี้ คุณสามารถที่จะแก้ไขแอททริบิวส์เทมเพลตของไฟล์โครงการได้

– Preferences: เปิดกรอบโต้ตอบ Preferences ที่คุณสามารถปรับแต่งสภาพแวดล้อมการทำงานของ UleadVideoStudio ได้ (See “Preferences: File menu”).

– Relink: แสดงกรอบโต้ตอบ Relink แจ้งให้คุณทำการเชื่อมโยงซ้ำคลิกที่เลือกไว้เมื่อมีความจำเป็น ถ้าคุณย้ายโฟลเดอร์ที่มีไฟล์ต้นแบบไปยังไดเร็คทอรี่อื่น เลือก Smart search ในกรอบโต้ตอบ Relink เมื่อคุณทำการเชื่อมโยงรูปภาพเล็ก (thumbnail) ซ้ำอีกครั้ง Ulead VideoStudio จะทำการเชื่อมโยงซ้ำไฟล์ต้นแบบทุกไฟล์ในไดเร็คทอรี่โดยอัตโนมัติ

– Insert Media File to Timeline: แสดงป๊อบ-อัพเมนูที่อนุญาตให้คุณค้นหาวีดีโอ, DVD/DVD-VR,รูปภาพ,หรือเสียง, และจากนั้นจึงแทรกเข้าไปในแทร็ค

– Insert Media File to Library: แสดงป๊อบ-อัพเมนูที่อนุญาตให้คุณได้เลือกวีดีโอ, DVD/DVD-VR, ภาพ,หรือเสียงแล้วแทรกไปไว้ใน Library

– Exit: ปิดโปรแกรม Ulead VideoStudio แสดงกรอบข้อความให้คุณบันทึกโครงการที่ทำงานอยู่ ในกรณีที่คุณยังไม่ได้บันทึกโครงการ

Edit menu




 – Undo: ย้อนกลับการกระทำที่ผ่านมาที่คุณได้กระทำในโครงการของคุณ Ulead VideoStudio อนุญาตให้คุณย้อนกลับการทำงานล่าสุดได้ถึง 99 ครั้ง จำนวนของขั้นตอนที่คุณยกเลิกกระทำ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าที่คุณได้ระบุไว้ในแท็บ General ในเมนู File: Preferences (See “General tab”).

– Redo: อนุญาตให้คุณย้อนกลับคำสั่ง ยกเลิกทำ ได้ถึง 99 ครั้งที่คุณได้กระทำมา คุณสามารถกำหนดจำนวนขั้นตอนการทำซ้ำได้ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าที่คุณได้ระบุไว้ในแท็บ General ใน เมนู File: Preferences

– Copy: คัดลอกคลิปสื่อที่ได้เลือกไว้ไปยังคลิปบอร์ด ดังนั้นจึงสามารถที่จะวางไว้ในโฟลเดอร์ไลบรารี่ได้

– Paste: วางคลิปสื่อที่ได้คัดลอกไว้ไปยังโฟลเดอร์ไลบรารี่ที่เลือกไว้

– Delete: ลบคลิกที่เลือกไว้ออกจากแทร็ค/โฟลเดอร์ไลบรารี่ที่เลือกไว้

Clip menu



 – Change Image/Color Duration: เปิดกรอบโต้ตอบ Duration ที่คุณสามารถเปลี่ยนความยาวของคลิป

– Mute: ปิดเสียงของคลิปวีดีโอ. ตัวเลือกนี้ เหมาะสำหรับการประยุกต์ใส่ดนตรีประกอบไปยังคลิปที่ระบุ

– Fade-in: ค่อยๆ เพิ่มเสียงของคลิปจากเงียบไปจนถึงดังสุด

– Fade-out: ค่อยๆ ลดเสียงของคลิปจากดังสุดไปจนถึงเงียบสุด

– Cut Clip: ตัดคลิปวีดีโอหรือเสียเป็นสองคลิป ด้วยการเลือกคลิปแล้ว ย้าย Jog Slider ที่อยู่ใต้หน้าต่างพรีวิวไปยังจุดที่คุณต้องการตัดคลิป

– Multi-trim Video: เปิดกรอบโต้ตอบ Multi-trim Video คุณสามารถเลือกตัดส่วนไฟล์วีดีโอที่ต้องการหรือไม่ต้องการออก ได้หลายๆ ส่วนให้เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการ

– Split by Scene: เปิดกรอบโต้ตอบ Scenes ที่คุณสามารถแยกไฟล์วีดีโอโดยอาศัยหลักการของเนื้อหาของเฟรมหรือวันที่บันทึกภาพ เป็นตัวแยกไฟล์วีดีโอออกเป็น scene ตัวเลือกนี้สามารถใช้ได้กับคลิปที่อยู่ในไลบรารี่ได้ คือแม้เป็นไฟล์วีดีโอที่รวม scene มาแล้วก็สามารถใช้คำสั่งนี้แยกได้เหมือนกัน

– Save Trimmed Video: ตัดส่วนที่เลือกไว้และบันทึกเป็นไฟล์วีดีโอใหม่ หลังจากการตัดวีดีโอแล้ว รูปภาพเล็กของไฟล์วีดีโอใหม่จะปรากฏในไลบรารี่

– Save as Still Image: บันทึกเฟรมปัจจุบันไปหน้าต่าง Preview Window เป็นรูปภาพใหม่. ภาพขนาดเล็กของรูปภาพใหม่นี้จะปรากฏอยู่ใน Library.

– Export: จัดเตรียมหลายๆ ทางเลือกในการส่งออกและเผยแพร่หนังของคุณ: Ulead DVD DiskRecorder: อนุญาตให้คุณบันทึกหรือเพิ่มวีดีโอของคุณไปยังอุปกรณ์ที่สนับสนุน DVDRAM(ใช้ฟอร์แมต DVD-VR ) หรือ DVD-R.

– DV Recording: เปิดกรอบโต้ตอบอนุญาตให้คุณส่งตรงและบันทึกข้อมูลวีดีโอไปยังกล้องถ่ายวีดีโอดิจิตอล หรืออุปกรณ์บันทึก DV อื่นๆ

-Web Page: อนุญาตให้คุณใส่คลิปหรือไฟล์หนังบนเว็บเพจ

-E-mail: เปิดโปรแกรมรับส่งอีเมล์ (เช่น Outlook Express) และแนบคลิปวีดีโอหรือไฟล์หนังที่เลือกไว้

-Greeting Card: เปิดกรอบโต้ตอบอนุญาตให้คุณสร้างการ์ดอวยพรแบบสื่อผสมโดยใช้คลิปหรือไฟล์หนังที่คุณเลือกไว้

-Movie Screen Saver: บันทึกคลิปที่เลือกไว้เป็น screen saver บนเดสค์ทอป. คุณสามารถส่งออกเฉพาะไฟล์ WMV เป็น screen saver เท่านั้น

– Properties: แสดงข้อมูลเกี่ยวกับคลิปที่เลือกไว้


Tools menu




 – VideoStudio DV-to-DVD Wizard : เปิด DV to DVD Wizard ที่อนุญาตให้คุณจับภาพวีดีโอจากกล้องถ่ายวีดีโอดิจิตอล (DV camcorder) แล้วเขียนลงแผ่นดิสก์

– VideoStudio Movie Wizard: เปิด Movie Wizard ที่อนุญาตให้คุณสร้างหนังได้อย่างรวดเร็ว (See “MovieWizard”).

– Create Disc: อนุญาตให้คุณนำออกโครงการของคุณ (พร้อมกับโครงการของ VideoStudio หรือวีดีโออื่นๆ) เพื่อสร้าง VCD, SVCD, หรือ DVD.

 – Select Device Control: เปิดกรอบโต้ตอบที่คุณสามารถตั้งการควบคุมอุปกรณ์ได้ ส่วนนี้จะอนุญาตให้คุณได้ควบคุมอุปกรณ์กล้องวีดีโอดิจิตอลโดยใช้ Navigation Panel.

– Change Capture Plug-in: แสดงกรอบโต้ตอบ Change Capture Plug-in ที่อนุญาตให้คุณเลือก plug-inสำหรับ capture driver.

– Batch Convert : เปิดกรอบโต้ตอบ Batch Convert ที่คุณสามารถเลือกวีดีโอหลายๆ ไฟล์ที่มีฟอร์แมต

แตกต่างกันและแปลงเป็นไฟล์วีดีโอฟอร์แมตเดียวกัน

– Full Screen Preview : แสดงขนาดพรีวิวที่แท้จริงของโครงการของคุณโดยใช้จอ PC or จอ TV ส่วนนี้จะพบในขั้นตอน Capture และ Share

– Save Current Frame as Image: บันทึกเฟรมปัจจุบันในหน้าต่างดูภาพ (preview) เป็นภาพนิ่งเก็บไว้ในLibrary

– Make Movie Manager: สร้างและจัดการ template ที่บรรจุข้อมูลทุกอย่าง (ฟอร์แมตไฟล์, ระดับเฟรม(frame rate), การบีบอัด เป็นต้น) ที่ต้องการเพื่อสร้างไฟล์วีดีโอจากโครงการ. หลังจากที่คุณสร้าง template,เมื่อคุณคลิกสร้างไฟล์วีดีโอในขั้นตอน Share จะมีตัวเลือกให้คุณได้ใช้ template นั้น

– Preview Files Manager: เปิดกรอบโต้ตอบ Preview Files Manager , แสดงรายชื่อไฟล์พรีวิวทั้งหมดที่สร้างในโครงการ.คุณสามารถเลือกลบไฟล์พรีวิวได้,

– Library Manager: อนุญาตให้คุณสร้างโฟลเดอร์ใน Library ได้

– Product Codec Information: เปิดกรอบโต้ตอบที่คุณสามารถดู codec ของ Ulead ที่ได้ติดตั้งไว้แล้ว หรือซื้อ codec จาก Ulead

– Smart Download: เปิดกรอบโต้ตอบที่คุณสามารถดาวน์โหลดส่วนประกอบสำหรับ VideoStudio.

– Print Options: เปิดกรอบโต้ตอบที่คุณสามารถระบุการตั้งค่าสำหรับการพิมพ์ภาพนิ่ง

Help menu



 – Ulead VideoStudio Help: แสดงความช่วยเหลือเกี่ยวกับ Ulead VideoStudio.

– Online Registration: เปิดหน้าเว็บลงทะเบียนออนไลน์ของ Ulead VideoStudio ในเบราเซอร์

– Product Updates on the Web: เปิดหน้าเว็บเบราเซอร์โดยอัตโนมัติและนำคุณไปยังเว็บไซต์ของ Uleadเพื่อลงทะเบียนออนไลน์


– About Ulead VideoStudio: แสดงรุ่นของโปรแกรมและข้อมูล



ที่มา: https://van2538.wordpress.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2/

บทความเกี่ยวกับเทคนิคการแสดงพื้นฐาน

 การสร้างความเชื่อ

         การแสดงออกซึ่งกิริยาท่าทางของตัวละคร คือการสวมบทบาทของตัวละครในเรื่องนั้น ผู้แสดงจะต้องสร้างความเชื่อให้คนดูเกิดความเชื่อให้ได้ว่าตนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบฉากในเรื่อง เป็นเรื่องจริง ๆ การที่ผู้แสดงจะมีความสามารถตีบทได้อย่างสมจริงนั้น ผู้แสดงจะต้องศึกษาบทละคร ตัวละครที่ตนต้องแสดงอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม นับตั้งแต่บุคลิกลักษณะ นิสัยของตัวละคร กิริยาท่าทาง อารมณ์ของตัวละคร
        ในการสร้างความเชื่อให้กับผู้ชมละคร ผู้แสดงจะต้องมีสมาธิ รู้จักการใช้จินตนาการ เห็นภาพลักษณ์ และอุปนิสัยใจคอของตัวละครในบทละคร ถ้าผู้แสดงละครทำให้ผู้ชมเชื่อว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าเขานั้นเป็นเรื่องจริง แสดงว่าผู้แสดงละครผู้นั้นตีบทแตกได้อย่างสมจริงประหนึ่งว่าผู้แสดงกับตัวละครเป็นบุคคลเดียวกัน หรือกล่าวได้ว่าสามารถเข้าถึงศิลปะของการแสดงละคร

การแสดงร่วมกับผู้อื่น

           การแสดงละคร ผู้แสดงจะต้องแสดงร่วมกับตัวละครอื่น ๆ ในเรื่อง ฉะนั้นในการฝึกซ้อมละคร ผู้แสดงจะต้องฝึกการเจรจากับผู้ร่วมแสดง ไม่ควรท่องบทเพียงลำพังคนเดียว ทั้งนี้เพื่อจะได้สัมผัสกับปฏิกิริยาของตัวละครอื่น ๆ ผู้แสดงต้องแสดงทั้งบทรับ บทส่งตลอดเวลา การมีปฏิกิริยากับผู้อื่น เช่น การฟัง การแสดงกิริยาท่าทาง การรับรู้ด้วยการแสดงสีหน้า พอใจ ไม่พอใจ ดีใจ ยิ้ม หรือหน้าบึ้ง จะช่วยทำให้สามารถเข้าถึงบทบาทของตัวละครได้ลึกซึ้งขึ้น เวลาแสดงจริงจะได้สอดคล้องประสานกัน
          ในฉากที่มีตัวละครเป็นจำนวนมาก ที่เป็นตัวประกอบประเภทสัมพันธ์บท เช่น แม่บ้าน คนรับใช้ คนสวนหรือตัวประกอบ ที่เสริมลักษณะเรื่องให้สมจริง อาทิ ประชาชน ทหาร ตำรวจ ไพร่พล ผู้แสดงต้องสื่อประสานได้ทั้งตัวละครที่เป็นตัวเอก ตัวสำคัญ และตัวประกอบ แม้ว่าตัวละครที่เป็นตัวประกอบจะไม่มีบทพูดแต่ก็ต้องแสดงบุคลิกลักษณะให้สมบทบาทตามเนื้อเรื่อง เพราะตัวละครที่แสดงอยู่บนเวทีต่อหน้าผู้ชม จะมีความสำคัญทุกตัว ผู้แสดงละครที่ดี นอกจากจะแสดงบทบาทของตนให้สมจริงแล้ว จะต้องมีทักษะและความสามารถในการร่วมแสดงกับผู้อื่นด้วย

บทบาทและหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ในการสร้างละคร 

             ทีมงานสร้างงานละครจะประกอบด้วยบุคคลที่ทำหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ มากมายหลายสาขา ซึ่งแต่ละฝ่ายล้วนมีบทบาทสำคัญในอันที่จะทำให้การจัดการแสดงละครประสบผลสำเร็จ ซึ่งความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างทีมงานทุกฝ่าย นับเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้การแสดงละครสัมฤทธิผลตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ทั้งนี้ทุกฝ่ายต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ มีความรับผิดชอบ ละเว้นการก้าวก่ายงานของผู้อื่น มีน้ำใจรู้จักให้อภัยต่อกัน

บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการแสดงละครที่สำคัญ ประกอบด้วยบุคคลต่างๆ ดังนี้

             1. ผู้อำนวยการแสดง (Producer) คือ ผู้จัดหรือหัวหน้าคณะในการจัดแสดงละครแต่ละครั้ง เป็นผู้กำหนดนโยบาย รูปแบบการแสดง เรื่องที่จะนำมาแสดง จัดสรรหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ดูแลงบประมาณ เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ

             2. ผู้กำกับการแสดง (Director) ควบคุมผู้แสดงให้แสดงให้สมบทบาทตามบทที่กำหนดไว้ จัดองค์ประกอบต่าง ๆ ของละครให้มีความสมจริง

             3. ผู้กำกับเวที (Stage Manager) เป็นผู้รับผิดชอบต่อจากผู้กำกับการแสดง เฉพาะในเรื่องการแสดงบนเวที มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของเวที เป็นผู้เดียวที่สั่งให้การแสดงเริ่มหรือหยุด ติดต่อสั่งงานเกี่ยวกับไฟแสง เสียงประกอบ ตลอดจนการเปิดปิดฉากละคร

             4. ผู้เขียนบท (Play Wright) เป็นผู้ทำหน้าที่เขียนบทละคร สร้างโครงเรื่อง คำพูดและเหตุการณ์ ผู้เขียนบทละครนับเป็นหัวใจสำคัญของการละคร ละครจะสนุกได้รับผลดีเพียงใด อยู่ที่ผู้เขียนบทละครเป็นสำคัญ ผู้เขียนบทจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน เป้าหมายหลักคืออะไร ต้องการสื่ออะไรกับผู้ดู เช่น แนวคิด คติสอนใจ เป็นต้น

             5. ผู้จัดการฝ่ายธุรการ (House Manager) เป็นฝ่ายจัดการทุกอย่างเกี่ยวกับธุรกิจของโรงละคร จัดสถานที่แสดง ดูแลการจำหน่ายบัตรที่นั่ง รับผิดชอบเกี่ยวกับผู้ดู

             6. เจ้าหน้าที่เครื่องแต่งกายและแต่งหน้า (Costume & Make up) ต้องรู้ว่าฉากใด ผู้แสดงมีตัวละครกี่ตัว ใช้ชุดสีอะไรแบบไหน ส่วนเครื่องแต่งหน้าต้องเตรียมให้พร้อม และควรมีความสามารถในการแต่งหน้าตัวละครได้สมจริง เช่น แต่งหน้าในบทของคนชรา คนต่างชาติ คนที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น

            7. นักแสดง (Actor) คือ ผู้ที่สวมบทบาทเป็นตัวละคร เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ในบทละครมาสู่ผู้ชม

            ในบรรดาผู้ร่วมงานทางด้านการจัดแสดงละคร นักแสดงคือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ชมมากที่สุด ผลงานการสร้างสรรค์ของฝ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้เขียนบท ผู้กำกับการแสดง การออกแบบเครื่องแต่งกาย แต่งหน้าจะได้รับการถ่ายทอดมาสู่ผู้ชมโดยตรง โดยผ่านนักแสดง
ผู้ที่เป็นนักแสดง พึงคิดไว้เสมอว่า "ละครคือศิลปะที่รวมศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกัน ความสำเร็จของละครอยู่ที่ความร่วมมือร่วมใจของผู้ร่วมงานทุกฝ่าย" นักแสดงจึงไม่ควรเย่อหยิ่งหรือคิดว่าตนเป็นคนสำคัญแต่เพียงผู้เดียว และพึงระลึกเสมอว่าตัวละครในบทละครทุกตัวมีความสำคัญเท่าเทียมกันหมด นับตั้งแต่พระเอก นางเอก ผู้ร้าย ตัวประกอบ
             หน้าที่ของผู้แสดง เมื่อได้รับบทให้แสดงเป็นตัวอะไรไม่ว่าจะเป็นตัวประกอบ เช่น คนรับใช้ พี่เลี้ยง ทหาร ตำรวจ พยาบาล ประชาชน ก็ควรทุ่มเทฝึกซ้อมให้เต็มความสามารถ เพราะมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างสูงสุดที่มีต่อผู้ชม และเพื่อนร่วมงานทุกฝ่าย เพราะถ้าผู้แสดงไม่ตั้งใจแสดงก็เหมือนเป็นการทำลายผลงานของผู้เขียนบท ผู้กำกับการแสดง ผู้ออกแบบฝ่ายต่าง ๆ

ฉะนั้นนักแสดงจะต้องมีจิตสำนึกที่ถูกต้อง มิใช่รักแต่ความดังที่ได้รับเป็นตัวเอก นักแสดงที่ดีต้องอุทิศตนเพื่องาน สามารถแสดงได้ทุกบทบาท มองเห็นคุณค่าของการแสดงว่าเป็นศิลปะ และควรภูมิใจที่ได้รับเลือก ให้เป็นผู้แสดง ไม่ว่าจะเป็นตัวประกอบ ตัวร้าย ก็สามารถให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมได้เช่นกัน


 ที่มา :https://www.gotoknow.org/posts/292945
บทความเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนบทหนังสั้น

ขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์

1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)

        เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม

2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)

        หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า   “เกิดอะไรขึ้นถ้า…” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น

3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)

        คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)

4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)

        เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำคัญ (premise)  ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ

 5. บทภาพยนตร์ (screenplay)

        สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที

6. บทถ่ายทำ (shooting script)

        คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง

7. บทภาพ (storyboard)

        คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของ
ช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ      เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย


ที่มา: https://joynaka23.wordpress.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A0/


บทความเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายหนังสั้น

เทคนิคมุมกล้อง

      การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน ยังมีผลต่อความคิดความรู้สึกที่จะสื่อความหมายไปยังผู้ดูได้ เราอาจแบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ คือ
       - ภาพระดับสายตา คือ การถ่ายภาพในตำแหน่งที่อยู่ในระดับสายตาปรกติที่เรามองเห็น ขนานกับพื้นดิน ภาพที่จะได้จะให้ความรู้สึกเป็นปรกติธรรมดา
       - ภาพมุมต่ำ  การถ่ายภาพในมุมต่ำ คือ การถ่ายในต่ำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุ จะให้ความรู้สึกถึงความสูงใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง แสดงถึงความสง่า
       - การถ่ายภาพมุมสูง คือ การตั้งกล้องถ่ายในต่ำแหน่งที่สูงกว่าวัตถุ ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกถึงความเล็กความต้อยต่ำ ไม่มีความสำคัญ

เทคนิคการซูมและการโพกัส

        1.ในขณะที่ซูมไม่ควรเดินหรือเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้วีดีโอที่ได้มีโอกาสสั่นไหวสูง
        2.หากต้องการเคลื่อนที่ด้วยขณะซูม ขอแนะนำให้ดึงซูมออกมาให้สุดก่อน แล้วค่อยกดปุ่มบันทึก จากนั้นให้เดินเข้าไปแทนการซูมเลนส์
        3.อย่าสนุกกับการซูมจนมากเกินไป เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เพิ่มเริ่มเล่นกล้องมักจะชอบดึงซูมเข้า/ออก ทำให้ภาพที่ได้น่ามึนหัว เหมือนกำลังกระแทรกกำแพงโป๊กๆที่จริงแล้วการซูมจะทำเมื่อต้องการดูรายละเอียดของเหตุการณ์ เพื่อบ่งบอกเรื่องราว หรือซูมออกเพื่อแสดงภาพรวมของเหตุการณ์นั้นๆ พูดง่ายๆ จะซูมก็ควรมีเหตุมีผลมีเรื่องราวที่จะเล่าจากการซูมจริงๆ
        4.ควรหยุดซูมเสียก่อนค่อยเคลื่อนไหวกล้อง หรือซูมก่อนบันทึกภาพ จุดนี้จะช่วยให้วีดีโอที่ได้น่าสนใจมากขึ้น เช่น การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในท้องทะเล อาจจะตั้งกล้องซูมเข้าไปที่เรือจากนั้นกดปุ่มบันทึก แล้วค่อยๆซูมออกมาให้เห็นท้องทะเล

การแพนกล้อง

        การแพนกล้องที่ดีต้องมีจังหวะที่จะแพน คือต้องมีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของการแพน จุดนี้เองคนที่อยู่เบื้องหลังคอยตัดต่อภาพทั้งหลายมันเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะตัดต่อภาพ โดยมีภาพทีแกว่งไปแกว่งมา หรือวูบวามไปมา เมื่อนำมาร้อยใส่ภาพนิ่งๆจะรู้สึกได้เลยว่าไม่เข้ากัน พลอยทำให้ดูไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่ ไม่นิ่มนวลสมจริง บางครั้งรู้สึกว่าโดดไปโดดมา หากจะให้ตัดต่อได้สะดวกและภาพสมบูรณ์ การแพนจะต้องมีจุดเริ่ม คือเริ่มจากถือกล้องให้นิ่งเสียก่อน จากนั้นกดปุ่มบันทึกภาพแล้วค่อยแพน และจุดจบ คือนิ่งทิ้งท้ายตอนจบอีกเล็กน้อย เพื่อบอกคนดูให้เตรียมพร้อมและพักสายตาระหว่างชมภาพ

การบันทึกเป็นช็อต

        “ช็อต” คือการเริ่มบันทึก เพื่อเริ่มเทปเดินและเริ่มบันทึกลงม้วนเทป จนกระทั่งกดปุ่ม Rec อีกครั้ง เพื่อเลิกการบันทึก แบบนี้เค้าเรียกว่า 1 ช็อต การถ่ายเป็นช็อคไม่ควรปล่อยให้ช็อตไม่ควรปล่อยให้ช็อตนั้นยืดยาวไปนัก คือไม่ควรเกิน 5 วินาทีต่อ 1 ช็อต

วิธีการบันทึกเป็นช็อต

        การถ่ายเป็นช็อตนี้ จะต้องเลือกมุม เลือกระยะที่จะถ่ายก่อน เลือกว่าจะถ่ายแบบไหนที่จะได้องค์ประกอบครบถ้วน ยกกล้องขึ้นส่อง จัดองค์ประกอบ แล้วถือให้นิ่ง กดบันทึก นับ 1-2-3-4-5 แล้วกดหยุด ในระหว่างกดบันทึกห้ามสั่น ห้ามไหวเด็ดขาด วิธีการไม่ยากนัก โดยให้รอจังหวะ หลักการง่ายๆคือนิ่งๆเข้าไว้ และไม่จำเป็นต้องถ่ายทั้งหมดหรือถ่ายยืดยาว เลือกแค่เป็นช็อตสำคัญก็พอ

รูปแบบการบันทึกเป็นช็อต

Shot ในความหมายของระยะการถ่ายทำภาพยนตร์อาจแบ่งจากลักษณะที่ใช้ในการถ่ายทำได้ดังนี้

  ·      1. ELS หรือ Extreme Long Shot เป็นการถ่ายภาพระยะไกลที่สุด เช่นเห็นเมืองทั้งเมือง ผืนป่าทั้งป่า หรือทะเลทรายกว้างสุดลูกหูลูกตา ซึ่งเป็นช็อตที่มักพบมากในหนังประเภท Epic หรือหนังมหากาพย์ที่เล่าเรื่องราวใหญ่โต จึงมีฉากที่แสดงความอลังการ อย่างไรก็ตามในหนังเพื่อศิลปะหลายเรื่องการถ่ายภาพในระยะนี้ก็ใช้เพื่อวัตถุ ประสงค์อื่นๆ เช่น ความไม่แน่นอน น่าสงสัย ความโดดเดี่ยว เปลี่ยวเหงา เช่นหนังของ มิเกลแองเจโล่ แอนโทนิโอนี่

  ·       2. LS หรือ Long Shot เป็นการถ่ายภาพระยะไกล พื้นที่ที่มากกว่าตัวละครทำให้เราใกล้ชิดกับฉากหรือทัศนียภาพมากกว่าความ รู้สึก ผลดังกล่าวทำให้ช็อตนี้มักใช้ในหนังเพื่อแสดงบรรยากาศเย็นชา หรือธรรมชาติที่ดูมีอิทธิพลเหนือผู้คน ในกรณีที่ใช้ถ่ายทำสถานที่เพื่อแนะนำเรื่องว่าเป็นฉากใด ซึ่งมักเป็นฉากเปิด งานทางด้านภาพยนตร์มักจะถ่ายฉากประเภทนี้เก็บไว้เพื่อความจำเป็นในการเล่า เรื่อง มักเรียกว่า Established Shot

  ·       3. MLS หรือ Medium Long Shot ช็อตที่อยู่ระหว่างระยะไกล และระยะ MS มักถ่ายเพื่อเปิดให้เห็นบุคคล กับวัตถุประสงค์ที่ต่างกันไป เช่น หมู่คณะหลายคน, ภาพคนกับพื้นที่ปิด หรือพื้นที่เปิด ซึ่งก็ให้ความหมายของภาพต่างกัน

  ·       4. MS หรือ Medium Shot เป็นช็อตที่ได้รับความนิยมที่สุด เพราะใช้ในการดำเนินเรื่อง และสนทนา ภาพออกมาอยู่ในระดับที่สบายตา โดยธรรมชาติของช็อตแบบนี้ไม่เน้นอารมณ์ร่วมกับผู้ชม แต่เน้นให้เพื่อใช้สำหรับเล่าเรื่อง ฉากการสนทนา บ้างก็เรียกว่า Two Shot คือเป็นช็อตที่ถ่ายให้เห็นคนสองคนทั้งตัว ไปจนระดับลำตัวถึงหัว

  ·       5. MCU หรือ Medium Close Up กึ่งกลางระหว่าง MS กับ Close Up เป็นอีกหนึ่งช็อตที่เรามักเห็นบ่อยๆ ในการถ่ายทำภาพยนตร์สำหรับผู้ชมวงกว้าง

  ·       6. CU หรือ Close Up ระยะใกล้ เป็นระยะที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกตัวละครเป็นหลัก ไม่ว่าจะโกรธ เศร้า ดีใจ และใบหน้าของมนุษย์ยังแสดงอารมณ์ได้หลากหลาย ช็อตนี้ตัวอย่างที่มักได้รับการกล่าวถึงบ่อยคือ City Light ของ ชาร์ลี แชปลิน ตลอดทั้งเรื่องเราเห็นอารมณ์ขันของเขาในระยะไกล หรือระยะกลางภาพ แต่เมื่อช่วงท้ายต้องการเร้าอารมณ์ตัวละครหลักได้ถูกจับภาพใบหน้าเป็นครั้ง แรก มันจึงส่งผลให้เราคล้อยตามได้

  ·       7. ECU หรือ Extreme Close Up ระยะใกล้มาก เป็นระยะภาพที่เน้นความรู้สึกในระดับที่สูงขึ้นกว่า CU เช่น ถ่ายภาพดวงตาในระยะประชิด หรืออวัยวะบางอย่างเพื่อแสดงอากัปกิริยาที่มีนัยยะต่างไปจากการแสดงออกอย่าง อื่น เพราะการส่งผลทางภาพที่ให้อารมณ์สุดโต่ง เราจึงมักเห็นช็อตนี้ในหนังสยองขวัญ หนังทดลอง หรือหนังทางด้านศิลปะบ่อยกว่าหนังสำหรับผู้ชมทั่วไป

ข้อดีของการบันทึกเป็นช็อต

        ช็อตมุมกว้าง คือบอกให้รู้สถานที่ และให้ได้รู้ว่าเป็นงานอะไร สถานที่ที่ไหน หากว่าถ่ายเห็นป้ายของงานเข้าไปด้วยยิ่งดี การถ่ายแบบนี้ดูเป็นเรื่องเป็นราว บอกเล่าเรื่องราวตามลำดับขั้น ว่ามีใครทำอะไรบ้างไม่ว่าจะเป็นงานพิธีหรือถ่ายกันเล่นๆ เพราะว่าภาพจะสลับมุมต่างๆมาให้ชมเป็นระยะทำให้ไม่น่าเบื่อ
ช็อตการแพน การยกกล้องขึ้นลงการซูม การเล่นมุมกล้องแบบต่างๆ หรือเล่นมุมกล้องเอียงก็ทำได้เช่นกัน แต่ว่าต้องเริ่มต้นด้วยหลักการถ่ายเป็นช็อตๆให้กระชับและไม่ยืดยาดจะทำให้คนดูไม่เบื่อ ที่มีแต่ภาพแข็งๆทื่อๆดูแล้วไม่มีชีวิตชีวา

เทคนิคการเคลื่อนที่กล้องโดยไม่ให้สั่นไหว

        “การไวด์” หรือ” Wide Shot” เป็นวิธีที่ช่วยอำพรางการสั่นไหวของกล้องได้ซึ่งแม้ว่ากล้องจะสั่น ภาพจะไหว แต่ก็ยังไม่เห็นความแตกต่างเพราะว่ามันมีภาพมุมกว้างที่หลอกตาอยู่ ถ้าหากต้องการที่จะเดินถือกล้องถ่ายแบบนี้ละก็ จะต้องเลือกระยะกล้องที่ไกลสุด โดยการดึงภาพด้วยการซูมออกมา เรียกว่า”ลองช็อต“(Long Shot) เป็นประคองกล้องเดินช้าๆแบบนุ่มนวล โดยไม่ต้องซูมเข้าไปอีก ควรปล่อยให้เป็นภาพมุมกว้างเข้าไว้
       การเดินก็สำคัญหากมัวแต่เดินจำพรวดทิ้งน้ำหนักตัวแบบเต็มที่แบบนี้ภาพที่ได้จะกระตุกเป็นจังหวะแน่ๆก็ขอแนะนำให้การเดินถ่ายกล้องนั้นต้องระวังทุกฝีเท้า การเดินด้วยปลายเท้า เกร็งและย่อขาเล็กน้อยจะช่วยให้กล้องนิ่งและมั่นคงขึ้น ช่วยให้เดินถ่ายวิดีโอได้อย่างมีคุณภาพ ภาพที่ได้จะนิ่งการถือกล้องแบบแบกบ่า บางครั้งอาจจะไม่ถนัดสำหรับเดินถ่ายเสมอไป สามารถแก้ไขด้วยการลดกล้องมาอยู่ในมือ ในอ้อมแขนนั้นจะเป็นการดี เพราะช่วยประคองกล้องได้อีกชั้นด้วยซ้ำไป แถมอาจจะได้มุมที่แปลกตาไปจากการแบกบนบ่า

การถ่ายให้กระชับ

      การถ่ายให้กระชับ หมายความว่า การถ่ายวิดีโอที่พยายามให้ภาพนั้นสื่อความหมายในตัวเองมากที่สุด โดยสามารถเล่าเรื่องราวได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร นี่จะช่วยให้เราไม่ต้องเก็บภาพมามากมายและยืดยาว ก็สามารถเข้าใจได้ว่าในเหตุการณ์นั้นๆเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ระบบวีดีโอในปัจจุบัน

     ระบบวีดีโอ มีความสัมพันธ์กับการนำไฟล์วีดีโอไปเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งไฟล์วีดีโอนั้นต้องนำไปเปิดกับโทรทัศน์ หรือเครื่องเล่นอื่นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าของระบบในวีดีโอในขั้นตอนการตัดต่อด้วย ซึ่งแต่ละประเทศจะใช้ระบบไม่เหมือนกัน คือ
       - ระบบ PAL เป็นระบบที่มีความคมชัดสูง แต่การเคลื่อนไหวไม่ค่อยราบรื่น โดยมีอัตราการแสดงภาพ (Frame Rate) 25 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ในหลายประเทศ โดยประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้
      - ระบบ NTSC เป็นระบบที่มีความคมชัดสู้ ระบบ PAL ไม่ได้ แต่การเคลื่อนไหวของภาพจะราบรื่นกว่าระบบ PAL เพราะมีอัตราการแสดงภาพ( Frame Rate ) 29.79 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ที่ประเทศญี่ปุ่น และอเมริกา
      - ระบบ SECAM เป็นระบบที่มีความคมชัดสูง การเคลื่อนไหวของภาพมีความราบรื่น มีอัตราการแสดงผล ( Frame Rate ) 25 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ในแถบแอฟริกา

รู้จักกับฟอร์แมตของไฟล์วีดีโอประเภทต่างๆ

           - AVI เป็นไฟล์มาตรฐานทั่วไปของไฟล์วีดีโอ มีความคมชัดสูง แต่ข้อเสียคือมีขนาดใหญ่ สามารถนำไปทำเป็นวีซีดี หรือดีวีดี ก็ได้ โดยผ่านกระบวนการบีบอัดไฟล์ของโปรแกรมนั้นๆ เช่น Nero , NTI
          - MPEG เป็นฟอร์แมตของไฟล์วีดีโอที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากไฟล์มีขนาดเล็ก และมีคุณภาพที่หลากหลาย ตั้งแต่คมชัดที่สุด ไปถึงอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ โดยมีหลายรูปแบบดังนี้

         - MPEG – 1 เป็นไฟล์ที่นิยมใช้ทำวีซีดี โดยมีขนาดที่เล็กมากที่สุด – MPEG – 2 เป็นไฟล์ที่นิยมใช้ทำดีวีดี โดยไฟล์มีขนาดใหญ่ (แต่ไม่เท่า AVI) แต่คุณภาพในการแสดงผลมีความคมชัดสูง – MPEG – 4 เป็นไฟล์ที่กำลังได้รับความนิยมมากชึ้น เนื่องจากมีคุณภาพในการแสดงผลใกล้เคียงกับดีวีดี แต่เป็นไฟล์ขนาดเล็ก นิยมนำไปใช้ในโทรศัพท์มือถือ , อินเตอร์เน็ต – WMV เป็นฟอร์แมตมาตรฐานของ Windows มีคุณภาพที่ดีฟอร์แมตหนึ่ง นิยมนำมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต – MOV เป็นฟอร์แมตของโปรแกรม Quick Time ที่ใช้กับเครื่อง Apple แต่สามารถเปิดใน Windows ได้เช่นกัน – 3GP เป็นไฟล์ขนาดเล็ก นิยมใช้ในโทรศัพท์มือถือ





ที่มา :  http://mis.kkw.ac.th/index.php/short-film/30-2014-05-16-07-17-56